วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

วันกาชาดไทย

        เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2402 ได้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างกองกำลังทหารของฝรั่งเศสร่วมกับอิตาลี กับกองกำลังทหารของออสเตรีย ณ บริเวณใกล้ๆ หมู่บ้านของซอลเฟริโน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของอิตาลี มีทหารที่บาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากขาดคนช่วยเหลือพยาบาล
ความเป็นมา
        จากเหตุการณณ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2402 ที่มีการสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างกองกำลังทหารของฝรั่งเศสร่วมกับอิตาลี กับกองกำลังทหารของออสเตรีย ซึ่งมีทหารที่บาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก เพราะขาดแคลนแพทย์และพยาบาล ญัง อังรี ดูนังต์ (Jean Henri Dunant) นายธนาคารชาวสวิสได้ประสบพบเห็นเหตุการณ์อันน่าสลดใจเหล่านั้น จึงได้รวบรวมบรรดาหมอชาวออสเตรียและกลุ่มนักเรียนแพทย์อิตาเลียนมาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ โดยไม่เลือกว่าเป็นฝ่ายมิตรหรือศัตรู
        เมื่อเขาเดินทางกลับถึงกรุงเจนีวา ก็ได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง บรรยาถึงเหตุการณ์ที่ได้ประสบพบเห็น และเสนอแนะว่า ควรจะมีการตระเตรียมอุปกรณ์ และเครื่องไม้เครื่องมือในการพยาบาลให้พร้อมในยามสงบ เมื่อมีสงครามเกิดขึ้นจะได้ช่วยเหลือทหารที่บาดเจ็บทุกฝ่ายได้ทันท่วงที และขอให้ทหารฝ่ายใดผ่ายหนึ่งอย่ายิงคนที่ช่วยบรรเทาทุกข์เหล่านี้ ซึ่งบริการเหล่านี้ยังจะให้ประโยชน์ในยามที่เกิดทุพภิกขภัย เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ฯลฯ อีกด้วย
        จากข้อเสนอแนะดังกล่าว ทำให้เกิดการประชุมระหว่างประเทศขึ้น ณ กรุงเจนีวา โดยมีผู้แทนจาก 16 ประเทศเข้าร่วมประชุม โดยมีข้อสรุปว่า
  • 1. ควรมีสมาคมขึ้นในทุกประเทศ เพื่อช่วยบรรเทาทุกข์แก่ผู้คนในยามสงคราม
  • 2. ในยามสงคราม ทหารที่บาดเจ็บ ผู้ที่คอยดูแลคนบาดเจ็บ ตลอดจนเครื่องหมายกาชาด (กากบาทสีขาวบนพื้นสีแดง) ปรากฏอยู่ที่ใด จะต้องถือว่าเป็นกลาง ไม่ใช่คู่สงคราม
ผลจากการประชุม
        ผลการประชุม ก่อให้เกิดสภากาชาดสากลขึ้น ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นกลาง โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ต่อมาในปี พ.ศ.2413 ได้มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศลงนามในอนุสัญญาเจนีวา เพื่อตกลงที่จะยอมรับและปฏิบัติตามข้อตกลงของสภากาชาด คือ
  • 1. ดูแลรักษาเยียวยาทหารที่ได้รับบาดเจ็บในยามสงคราม
  • 2. ดูแลเชลยศึกทุกคนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม
  • 3. ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยทุกอย่างและทุกแห่งทั่วโลก
        จากการบุกเบิกของ ญัง อังรี ดูนังต์ ร่วมกับทนายความคนสำคัญ คือ กุสต๊าฟ มัวนิเอร์ ทำให้ขบวนการกาชาดประสบความสำเร็จ และกลายเป็นสภากาชาดสากล มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมกว่า 74 ชาติ โดยสภากาชาดของแต่ละประเทศจะเป็นองค์กรอิสระ สามารถจัดวางแผนงานของตนให้เหมาะสมกับความต้องการของตนเองได้ สภากาชาดสากลจึงกำหนดให้วันที่ 8 พฤษภาคมของทุกปี เป็น "วันกาชาดสากล"
กิจการกาชาดในประเทศไทย
        ได้เริ่มต้นขึ้นจากการจัดตั้งสภาอุณาโลมแดงขึ้น เมื่อ พ.ศ.2457 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสภากาชาดไทย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ได้ให้การรับรองสภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2463 และสันนิบาตสภากาชาดได้รับเข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2464 ในประเทศไทยได้ก่อตั้งสภากาชาดเพื่อช่วยเหลือทหาที่ได้รับบาดเจ็บในกรณีพิพาท ร.ศ.112 เมื่อเหตุการณ์สงบทางราชการให้ทำเป็นองค์การสาธารณกุศลเพื่อทำประโยชน์และบรรเทาทุกข์ภัยของประชาชนต่อไป
กิจกรรมวันกาชาดสากล
        องค์การกาชาดได้จัดให้มีงานประจำปีทุกปี การจัดงานกาชาดนั้นก็เพื่อเป็นการเผยแพร่หลักการ, การดำเนินงาน, ผลงาน และกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งหาเงินเพื่อมาใช้ในกิจกรรมสาธารณกุศลไว้รับใช้ประชาชนที่เดือดร้อนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น